ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletคณะกรรมการบริหาร
bulletหน้าที่ของ กบร.
bulletนโยบายชมรม
bulletขอบเขตรับผิดชอบอนุกรรมการ
bulletข้อบังคับชมรมฯ
bulletธนาคาร&สถาบันการเงินสมาชิก
bulletแผนการดำเนินงาน
dot
dot
bulletข้อมูล ธปท.สำหรับสถาบันการเงิน
bullet Web App. Security (OWASP Top 10)
bullet Checklist สำหรับบริหารจัดการ Cisco Router
bulletRouter Audit Tool (RAT)
bulletweb application testing
dot
dot
bulletกระทรวงการคลัง
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletสมาคมผู้ตรวจสอบภายในฯ
bulletสมาคมธนาคารไทย
bulletISACA Bangkok
bulletสำนักงานคณะกรรมการ กลต.
bulletInformation Technology Governance (โดย อ.เมธา )
bulletThaiCERT
bulletAudit Net




แนะนำการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) article

       RMF เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ยังไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มารองรับ หรือมีสวัสดิการดังกล่าว แต่ยังมีกำลังออมเพิ่มมากกว่านั้นอีก 

       นโยบายการลงทุนของ RMF มีให้เลือกหลากหลายเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ตั้งแต่กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงปานกลาง  ที่อาจผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ไปจนถึงกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูง เน้นลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น (warrant) 
 

ข้อแตกต่างของ RMF จากกองทุนรวมทั่ว ๆ ไป ดังนี้ 

1.  หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
2.  ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็นหลักประกันได้
3.  ไม่มีการจ่ายเงินปันผล 
 

เงื่อนไขการลงทุนของ RMF เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีดังนี้
• ต้องสะสมเงินอย่างต่อเนื่องโดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
• ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท (แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า) 
• ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน (ยกเว้นปีใดที่ไม่มีเงินได้ ก็ไม่ต้องลงทุน เนื่องจาก 3% ของเงินได้ 0 บาท เท่ากับ 0 บาท)
• การขายคืนหน่วยลงทุนทำได้เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี  
 
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ RMF

หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน RMF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
     ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้ว ต้องไม่เกิน 300,000 บาท
     ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ หากลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี  
  
ลักษณะการผิดเงื่อนไขการลงทุนของ RMF มีดังนี้

1. ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน หรือ
2. ลงทุนขั้นต่ำไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือ
3. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่ผู้ลงทุนจะอายุครบ 55 ปี หรือ
4. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่จะมีการลงทุนครบ 5 ปี
                 
               ทั้งนี้ หากเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่ง ก็ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ยกเว้นกรณีที่ผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว จะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน  
 
เมื่อการผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไปและต้องดำเนินการ ดังนี้

1. กรณีที่ลงทุนไม่ถึง 5 ปี และมีการผิดเงื่อนไข
    •ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (นับตามปีปฏิทิน) 
    •เมื่อขายคืนหน่วยลงทุน ต้องจ่ายภาษีของกำไรส่วนเกินทุน (capital gain) โดยนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนไปรวมเป็นเงินได้ของปีที่ขายคืนเพื่อเสียภาษีเงินได้  ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรส่วนเกินทุนไว้ก่อน และเมื่อผู้ลงทุนไปยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ ก็จะคำนวณอีกครั้ง ว่าจะต้องจ่ายเงินภาษีเพิ่มอีก หรือไม่ อย่างไร
 
2. กรณีที่ลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และมีการผิดเงื่อนไข
     • ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (นับตามปีปฏิทิน)
 
          การชำระภาษีตาม 1. และ 2. ต้องชำระภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข และ/หรือ ขายคืนหน่วยลงทุน 
 
  
Checklist ก่อนลงทุนใน RMF มีดังนี้     
                
 - ตอบตัวเองว่าต้องการออมเพื่อวัยเกษียณ  
 -มีวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และระยะยาว  
 -รู้จักตัวเอง-รู้ว่ามีเป้าหมายการลงทุนเป็นแบบใด สามารถออมเงินได้มากน้อยเพียงไร และยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้ขนาดไหน  
 -รู้จักผลิตภัณฑ์-รู้ว่านโยบายการลงทุนของ RMF ที่สนใจจะลงทุนเป็นอย่างไร เช่น มีความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง หรือสูง  
 -พิจารณาผลงานของบริษัท คุณภาพในการให้บริการ รวมทั้งการคิดค่าธรรมเนียมจัดการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ  
  -เลือกลงทุนใน RMF ที่เหมาะสมกับตัวคุณ ทั้งนี้ อย่าลืมใช้หลักการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ที่ว่า “อย่าใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว” ประกอบการลงทุนด้วย 
 
หากไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไร สามารถหาข้อมูลได้จาก Call Center สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
www.aimc.or.th และ www.thaimutualfund.com โทร. 0-2264-0900-4 กด 6 ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมได้เป็นอย่างดี




บทความการตรวจสอบภายใน

Audit Technique article
การทุจริตบัตรเครดิตโดยการดูดข้อมูลบัตรเครดิตผ่านทางสายโทรศัพท์
7 อันดับภัยอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
วิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัย
งานวิจัยบุคคลเรื่องการทุจริตบัตรเครดิต
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
คำทำนายอนาคตทิศทางเทคโนโลยีและภัยด้านความปลอดภัยข้อมูล
การพัฒนา การกำกับดูแลกิจการ ของต่างประเทศ
9 คำถาม สำหรับตัดสินใจเลือกลงทุน RMF และ LTF article
นโยบายการตรวจสอบสถาบันการเงิน ปี 49 ของ ธปท. article
เรื่องน่ารู้ "ทรัพย์สิน ของคู่สมรส" article
สตท. กับบริการ Quality Assurance Review article



Copyright © 2012 All Rights Reserved.
ชมรมผู้ตรวจสอบภายในธนาคาร และสถาบันการเงิน (Bank & Financial Institution Internal Auditors Club) ที่ทำการ สมาคมธนาคารไทย เลขที่ 5/13 ชั้น 4 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทร. 0-2264-0883-7 โทรสาร. 0-2264-0888 สถานที่ติดต่อ ประธานและเลขาธิการกรรมการบริหารและคณะกรรมการบริหารชมรมฯ ตามระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งอยู่ โปรดดูรายละเอียดในหัวเรื่องคณะกรรมการ