ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletคณะกรรมการบริหาร
bulletหน้าที่ของ กบร.
bulletนโยบายชมรม
bulletขอบเขตรับผิดชอบอนุกรรมการ
bulletข้อบังคับชมรมฯ
bulletธนาคาร&สถาบันการเงินสมาชิก
bulletแผนการดำเนินงาน
dot
dot
bulletข้อมูล ธปท.สำหรับสถาบันการเงิน
bullet Web App. Security (OWASP Top 10)
bullet Checklist สำหรับบริหารจัดการ Cisco Router
bulletRouter Audit Tool (RAT)
bulletweb application testing
dot
dot
bulletกระทรวงการคลัง
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletสมาคมผู้ตรวจสอบภายในฯ
bulletสมาคมธนาคารไทย
bulletISACA Bangkok
bulletสำนักงานคณะกรรมการ กลต.
bulletInformation Technology Governance (โดย อ.เมธา )
bulletThaiCERT
bulletAudit Net




วิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัย

วิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัย

  • เซ็นชื่อหลังบัตรทันทีที่ได้รับบัตรมาใหม่
  • รักษาบัตรของท่านเสมือนเป็นเงินสด
  • ไม่ควรเขียนหรือเก็บรหัสไว้รวมกับบัตร
  • ตรวจดูให้แน่ใจว่าได้รับบัตรคืนหลังการใช้ทุกครั้ง
  • หากเป็นไปได้ ควรให้บัตรอยู่ในสายตาตลอดเวลาในขณะที่ร้านค้ากำลังดำเนินการขออนุมัติวงเงิน 
  • ตรวจสอบ Sales Slip ทุกครั้งว่าจำนวนเงินถูกต้องหรือไม่ก่อนเซ็นชื่อ และเก็บสำเนา รวมทั้งใบบันทึกรายการ ATM ไว้ทุกครั้ง
  • ไม่ควรบอกรหัสบัตรของท่านกับใครทางโทรศัพท์
  •  ควรตรวจสอบใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายของบัตรทุกครั้ง โดยเฉพาะหลังจากการเดินทาง โดยตรวจสอบจำนวนเงินในแต่ละรายการเทียบกับสำเนา Sales Slip ควรบันทึกหมายเลขบัตรแต่ละใบ รวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกรณีฉุกเฉิน เช่น บัตรหาย หรือ ถูกโจรกรรม และเก็บแยกไว้ต่างหาก
  • หากรู้สึกว่าพนักงานขายทางโทรศัพท์คะยั้นคะยอขอหมายเลขบัตรเครดิตของท่าน ให้สงสัยไว้ก่อนและปฏิเสธไป
  • ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของท่านกับใครขณะใช้บัตรเครดิต และแสดงบัตรประชาชนหรือเอกสารอื่นๆ เมื่อท่านเห็นสมควรว่าจำเป็นเท่านั้น 
  • ไม่ควรเปิดเผยรหัสบัตรของท่านกับใคร ท่านควรเป็นผู้เดียวที่รู้
  • ในการตั้งรหัสบัตร พยายามเลือกรหัสที่ท่านสามารถจำได้ง่าย แต่ไม่ควรใช้ตัวเลขที่ผู้อื่นอาจเดาได้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ วันเกิด ทะเบียนรถ เป็นต้น
  • หากบัตรของท่านติดอยู่ในเครื่อง ATM ควรระวังผู้ที่แสดงความหวังดีเข้ามาช่วยเหลือ เพราะผู้ที่มาช่วยอาจแฝงด้วยเจตนาที่ไม่ดีและอาจใช้วิธีการต่างๆ เพื่อล่วงรู้รหัสบัตรของท่าน แล้วอาจนำบัตรของท่านที่ค้างอยู่ในตู้ ATM มากดถอนเงินในภายหลัง อย่าชะล่าใจ…ภัยทุจริตบัตรเครดิต




    คณะทำงานป้องกันทุจริตบัตรเครดิต ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต สมาคมธนาคารไทย ได้แจ้งประกาศเตือนภัย ผู้ถือบัตร คนไทยที่ใช้บัตรเครดิต ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เนื่องจากมีปัญหาอาชญากรรมด้านบัตรเครดิตค่อนข้างรุนแรง หรือพูดง่ายๆ ก็คือมีอัตราการทุจริตจากการใช้บัตรเครดิตที่สูงมากในขณะนี้ หากไม่นับรวมกรณีที่ผู้ถือบัตรเจตนาทำทุจริตเสียเอง ลักษณะการทุจริตบัตรเครดิตประเภทต่างๆ เท่าที่มีการติดตามรวบรวมสถิติกันไว้พอจะ สรุปได้ ดังนี้

    1. ผู้ถือบัตร ทำบัตรเครดิตหล่นหาย หรือลืมบัตรไว้ที่ร้านค้าที่ไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการโดยไม่รู้ตัว และที่สำคัญไม่ทันได้แจ้ง อายัดบัตรโดยทันที พอมีคนเก็บบัตรได้ก็นำไปใช้ในทางทุจริต เช่น ปลอมลายเซ็นในเซลสลิป หรือนำบัตรไปใช้จ่าย ในจำนวนเงินไม่สูงนักต่อครั้ง

    2. บัตรเครดิตถูกขโมยทั้งกรณี ที่ถูกขโมยก่อนส่งให้เจ้าของบัตร และกรณีที่ผู้ถือบัตรถูกโจรกรรมหรือล้วงกระเป๋า หลังจากที่ได้ รับบัตรแล้ว ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นการทุจริตที่มีความเสียหายสูงมากในขณะนี้ สำหรับเทคนิคการทุจริตโดยนำบัตรที่ถูกขโมยไปใช้ ที่พบเห็นส่วนใหญ่จะเป็นการปลอมลายเซ็นในเซลสลิป หรือไม่ก็สมรู้ร่วมคิดกับร้านค้าสมาชิกให้ใช้บัตรโดยมิชอบ

    3. การขโมยข้อมูลบัตรเครดิตไปทำการปลอมแปลง ซึ่งการทุจริตประเภทนี้มีมากในแถบเอเชียเช่นมาเลเซีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น

    4. วิธีการก็มีตั้งแต่ง่ายๆ เช่น นำบัตรเครดิตที่หมดอายุ หรือถูกอายัดแล้วมาแก้ไขข้อมูลใหม่ ไปจนถึงวิธีที่ต้องใช้อุปกรณ์ไฮเทคหน่อยเข้าช่วย เช่น ทำบัตรปลอมโดยการสำเนาข้อมูลในแถบแม่เหล็กจากบัตรจริง เป็นต้น

    5. ร้านค้าทุจริต เช่น ร้านค้าแก้ไขตัวเลขจำนวนเงินในเซลสลิป ร้านค้าเจตนารูดบัตรทำรายการหลายครั้ง ร้านค้าขายสินค้า แพงเกินกว่าที่เป็นจริงหรือ สินค้ามีคุณภาพต่ำกว่าที่ได้ตกลงกัน ร้านค้าไม่จัดส่งสินค้าไปให้แก่ลูกค้าตามกำหนดเวลาที่ได้ ตกลงกันไว้ เป็นต้น

    6. คำแนะนำที่น่าสนใจของชมรม ธุรกิจบัตรเครดิตก็คือ ให้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตกับร้านค้าที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ร้านดิวตี้ฟรีช็อป (ร้านค้าขายของปลอดภาษี) ของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ร้านขายจิวเวลลี่ราคาแพงที่เน้นขาย เฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกในประเทศเกาหลีและไต้หวัน ร้านอาหารในโรงแรม หรือร้าน ที่เปิด ดำเนินกิจการเฉพาะในตอนกลางคืน เป็นต้น

    7. แต่ถ้าหากจำเป็นต้องใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการในร้านค้าที่มีความเสี่ยงก็ต้องหัดเป็นคนช่างสังเกตเสียหน่อย รวมทั้งควรติดตามพนักงานขายไปจนถึงเคาน์เตอร์แคชเชียร์เลยเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการนำบัตรเครดิตไปรูดกับเครื่องอย่างอื่น นอกจากเครื่องอนุมัติวงเงินของแบงก์เท่านั้น หรือไม่ได้มีการรูดบัตรทำรายการซ้ำหลายครั้ง

    8. ต้องตรวจสอบหมายเลขบัตร ชื่อผู้ถือบัตร และยอดเงินในเซลสลิปว่าถูกต้องหรือไม่ก่อนลงลายมือชื่อ

    9. นอกจากนั้นผู้ถือบัตรควรจดหมายเลขบัตรเครดิต และหมายเลขโทรศัพท์ของแบงก์ผู้ออกบัตรติดตัวเอาไว้ด้วยหากทำบัตรหล่นหายหรือบัตรถูกขโมยหรือสงสัยว่าบัตรของตนเองจะถูกทุจริตจะได้สามารถแจ้งอายัดบัตรได้ทันทีไม่ว่าจะเป็นเวลาใด ตลอด 24 ชั่วโมง


    :: แหล่งข้อมูลจาก : ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน)




บทความการตรวจสอบภายใน

Audit Technique article
การทุจริตบัตรเครดิตโดยการดูดข้อมูลบัตรเครดิตผ่านทางสายโทรศัพท์
7 อันดับภัยอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
งานวิจัยบุคคลเรื่องการทุจริตบัตรเครดิต
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
คำทำนายอนาคตทิศทางเทคโนโลยีและภัยด้านความปลอดภัยข้อมูล
การพัฒนา การกำกับดูแลกิจการ ของต่างประเทศ
แนะนำการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) article
9 คำถาม สำหรับตัดสินใจเลือกลงทุน RMF และ LTF article
นโยบายการตรวจสอบสถาบันการเงิน ปี 49 ของ ธปท. article
เรื่องน่ารู้ "ทรัพย์สิน ของคู่สมรส" article
สตท. กับบริการ Quality Assurance Review article



Copyright © 2012 All Rights Reserved.
ชมรมผู้ตรวจสอบภายในธนาคาร และสถาบันการเงิน (Bank & Financial Institution Internal Auditors Club) ที่ทำการ สมาคมธนาคารไทย เลขที่ 5/13 ชั้น 4 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทร. 0-2264-0883-7 โทรสาร. 0-2264-0888 สถานที่ติดต่อ ประธานและเลขาธิการกรรมการบริหารและคณะกรรมการบริหารชมรมฯ ตามระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งอยู่ โปรดดูรายละเอียดในหัวเรื่องคณะกรรมการ