เมื่อปีที่แล้ว(2549) กรมสอบสวนคดีพิเศษ พลตำรวจเอกสมบัติ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรม สอบสวนคดีพิเศษ เป็นประธานแถลงข่าวการจับกุมผู้ต้องหาชาวต่างประเทศปลอมแปลงบัตรเครดิต พร้อมอุปกรณ์ในการแปลงข้อมูลบัตร ได้ที่จังหวัดสงขลาตามที่ ที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) มีมติให้กรณีการกระทำทุจริตเกี่ยวกับบัตรเครดิตที่มีลักษณะเป็นเครื่อข่ายขององค์กรอาชญากรรมเป็นคดีพิเศษเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2548 อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษจึงมอบหมายให้นางสาวกัญญานุช สอทิพย์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษกำกับดูแลเรื่องดังกล่าว รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงสั่งการให้ พันตำรวจเอกณรัช เศวตนันท์ ผู้บัญชาการสำนักกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตั้งคณะพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษขึ้นเพื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวน
จนกระทั่ง ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่เข้าทำการจับกุมตัว ผู้ต้องหา คือนายลี เคียน ซิน อายุ ๓๓ ปี ชาวมาเลเซีย ณ โรงแรมนิวซีซั่น อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พร้อมด้วยของกลาง ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการขโมยข้อมูลบัตรเครดิตผ่านทางสายโทรศัพท์ (wire tapping) และอุปกรณ์สำหรับใช้แปลงข้อมูลเพื่อที่จะส่งข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ตไปปลอมบัตรเครดิตเป็นจำนวนมาก โดยกล่าวหาว่า ?มีเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมแปลงบัตรอิเลคทรอนิคส์ที่ผู้ออกให้แก่ผู้มิสิทธิใช้ เพื่อประโยชน์ในการชำระสินค่า ค่าบริการ หรือหนี้อื่นแทนการชำระเงินสด? ตามกฎหมายประมวลวิธีพิจาณาความอาญา มาตรา ๒๖๙/๒ ทั้งนี้เจ้าพนักงาน ได้ร่วมกันสืบสวนโดยมีการแฝงตัวในกลุ่มผู้ร่วมกระทำความผิดชาวต่างชาติจนพบการกระทำความผิด และทราบว่าจะมีการส่งมอบเครื่องมือพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิด ณ สถานที่ดังกล่าว เจ้าพนักงานจึงได้แสดงตัวเข้าทำการจับกุมตัว พร้อมของกลางดำเนินคดี
การทุจริตบัตรเครดิตโดยการนำเครื่องมือไปดูดข้อมูลบัตรเครดิตผ่านทางสายโทรศัพท์ดังกล่าวนั้นในแต่ละครั้งสามารถดูดข้อมูลเป็นจำนวนมากและนำข้อมูลดังกล่าวไปแปลงเป็นข้อมูลที่ใช้สำหรับปลอมบัตรเครดิตที่แหล่งผลิตบัตรเครดิตปลอมเป็นจำนวนมาก การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศ
เนื่องจากแนวโน้มของการกระทำความผิดในลักษณะนี้ ทำให้ธนาคารและสถาบันการเงินเกิดความเสียหายเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาทมาแล้ว สำหรับโทษในกล่าวหาข้างต้น มีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีครึ่งถึงเจ็ดปีครึ่ง และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาท ถึง หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
ถ้าในการสอบสวนเบื้องต้นพบว่าเครื่องมือดังกล่าวเป็นเครื่องมือนำเข้าหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรและจะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องมือดั้งกล่าวอีกกระทงหนึ่ง ซึ่งมีโทษตั้งแต่สี่ปีครึ่งถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่เก้าหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
แม้ว่าเป็นเหตุการเมื่อปีที่แล้วแต่วิธีการข้างต้นยังสามารถใช้ได้และยังมีการทำการในลักษณะนี้ในปัจจุบัน และได้พัฒนาวิธีการที่แยบยลมากขึ้นกว่าเดิมด้วยเทคนิคใหม่ ๆ ขอให้ระวังกันนะครับ